[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by www.ninekob.com 1.0
 
facebook twitter
MY MENU Home    My Blog     Gallery   News      Webboard     Calendar   About us  

 


  

My Blog
เมื่อลูกสาวผมป่วยเป็นโรค คาวาซากิ

พฤหัสบดี ที่ 21 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2553


Post ครั้งแรกเมื่อ จันทร์ ที่ 25 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2552 [ย้ายมาจาก My News]
 

เมื่อลูกสาวผมป่วยเป็นโรค คาวาซากิ

สำหรับ Blog นี้ ผมตั้งใจเขียนขึ้นเพื่อแบ่งปันประสบการณ์แก่พ่อแม่ที่มีลูกเล็ก เพราะโรคนี้ดูเหมือนไม่อันตราย แต่ มันมีผลที่ร้ายแรง
ซึ่งผมจะแบ่งเรื่องราวออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับลูกสาวผม ซึ่งผมแทรกความเห็นส่วนตัวไว้ด้วย)
ส่วนที่ 2 เรื่องราวเกี่ยวกับโรคคาวาซากิ

เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับลูกสาวผม "เมื่อลูกสาวผมป่วยเป็นโรค คาวาซากิ" ลูกสาวผม อายุ 4ขวบกว่า (ประมาณ  4 ขวบ  7 เดือน)

เมื่อตอนค่ำของวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2552 ลูกสาวบ่นว่าเจ็บคอมาก เมื่อผมแลภรรยาได้ดูอาการ พบว่า ที่คอลูกสาว มีอาการบวมคล้ายทอลซิลอักเสบ
เมื่อดูในคอพบว่าในคอแดงและมีไข้สูง จึงตกลงกันว่าเย็นวันศุกร์ จะพาไปหาหมอ

เย็นวันศุกร์ที่ 15 ผมพาลูกไปหาหมอที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หมดดูอาการแล้วบอกว่า ทอลซิลอักเสบจึงให้ยามาทาน

วันต่อมา เย็นวันเสาร์ที่ 16 ลูกเริ่มมีผื่นแดงทั่วตัว

วันอาทิตย์ที่ 17 จึงพาลูกไปหาหมอท่านเดิม คุณหมอตรวจแล้วบอกว่าเป็นผื่นที่เกิดจากเหงื่อ
ช่วง 4 วันนี้ ลูกสาวจะมีไข้สูงตลอด ประมาณ 38-40.5องศา C ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง

จนกระทั้งถึงเย็นวันที่ 18 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ภรรยาผมสังเกตุเห็นว่าปากลูกสาวบวมแดง และ ลิ้นเป็นตุ่มและแดงมากๆ คล้ายผลสตอร์เบอรรี่จึงตกลงกันว่า น่าจะพาไปหาหมออีกครั้งและลองเปลี่ยนโรงพยายาลดู
(เพราะผมคิดว่า หมอทุกคนจะมีประสบการณ์และขอ้สันนิฐานในการรักาโรคต่างกัน : ความเห็นส่วนตัว)

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2552 จึงพาลูกไปโรงพยาบาล นนทเวช คุณหมอกุมารเวชดูอาการแล้ว บอกว่า อาการคล้ายๆ โรคคาวาซากิ จึงขอตรวจเลือดก่อน และให้หมอโรคหัวใจเด็กดูอาการร่วมด้วย
ตอนนั้นผมเริ่มกังวลเล็กน้อย (เพราะเคยรู้ถึงความรุนแรงของโรคนี้มาบ้างแต่ไม่ละเอียดมากนัก) ไม่ได้คิดอะไรมากนอกจาก ขออย่าให้ลูกสาวเป็นโรคนี้เลย วันนั้นคุณหมอให้ admid และรอฟังผลการตรวจเลือด

ช่วงบ่าย คุณหมอโรคหัวใจเด็กขึ้นมาที่ห้องและบอกว่า ทั้งอาการภายนอก และผมการตรวจเลือด ตอนนี้มีรายละเอียดของการตรวจเยอะมาก ทั้งเกล็ดเม็ดเลือดแดง-ขาว และอื่นๆ อีก
แต่ที่สำคัญที่ผมพอจับใจความได้ ก็คือ ค่า ESR หรือค่าการอักเสบของร่างกาย ของลูกสาวผม สูงถึง 92 (ปกติต้องไม่เกิน 20)
ยอมรับครับ ว่าตอนนี้ผมตกใจและถึงกับอึ้ง (บอกไม่ถูกเหมือนกันครับ) ผมถามย้ำกับหมออีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจ ว่า เข้าข่าย หรือ เป็น หมอตอบกลับมาว่า เป็น

คุณหมออธิบายว่า

โรคนี้ยังไม่มีใครทราบว่าเกิดจากเชื้ออะไร และผู้ป่วยเป็นได้อย่างไร รู้แต่อาการต่างๆ ที่แสดงออกมา (อ่านอาการได้จากรายละเอียดของโรค ในส่วนที่ 2)
ซึ่งลูกสาวผม มีอาการเข้าในเกณฑ์ 4 ข้อ ที่สำคัญคือ อาการปากบวมแดง และลิ้นแดงคล้ายผลสตอเบอรี่
คุณหมออธิบายต่อว่าผลอันตรายของโรคนี้ คือ จะทำให้เส้นเลือด Coronary (เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ)
ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจรั่ว เส้นเลือดพองโต หากไม่ทำการรักษา จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ปกติ และหัวใจวาย
และทำให้เส้นเลือดอุดตันซึ่งจะทำให้เส้นเลือดพองโต ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้


และคุณหมอขอ ECHO หัวใจ เพื่อตรวจดูขนาดของเส้นเลือด โชคดีครับ ขนาดเส้นเลือดลูกสาวผม ปกติ

สำหรับการรักษา จะต้องได้รับยา IVIG (เป็นตัวยาเพียงตัวเดียวเท่านั้น ทราบมาว่ามีหลายเกรด ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของยา และแน่นอนมีผมต่อราคาของยาด้วย)
ซึ่งตัวยา IVIG นี้ มีราคาค่อนข้างแพงมาก และต้องให้ปริมาณตามน้ำหนักของผู้ป่วยซึ่งลูกสาวผมต้องให้ 3 ขวด  โดยให้ควบคู่ไปกับยาแอสไพริน
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา IVIG จะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจในอนาคต

ลูกสาวผมอยู่โรงพยาบาล 3 วัน 2 คืน (พยาบาลบอกว่า เป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ที่อยู่โรงพยาบาลน้อยวันที่สุด)

โดยคุณหมอจะนัดดูอาการเป็นระยะๆ เพื่อตรวจดู ค่า ESR และอาจต้อง ECHO หัวใจ เพื่อดูขนาดของเส้นเลือด (ซึ่งปกติมักมีอาการบวมในวันที่ 10)โดยฌแพาะในช่วงแรกอาจต้องดูอาการบ่อยๆ ตลอด  8 สัปดาห์

ถึงวันนี้ วันอาทิตย์ที่ 24 คุณหมอนัดครวจเลือดดูอาการอีกครั้ง พบว่า ค่า ESR ยังคงสูงถึง 118 ยังคงต้องทานยาแอสไพรินต่อ (ทราบมาว่าผู้ป่วยโรคนี้ บางคนอาจต้องดูอาการนานถึง 2 ปีทีเดียว)

บนความโชคร้าย ผมยังโชคดี ที่ตัดสินใจพาลูกสาวมาพบคุณหมอแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ เส้นเลื่อด Coronary จะพองโต ไม่เช่นนั้นคงไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับลูกสาวผม และผมจะเป็นอย่างไร

นายกบ


ช่วงนี้ผมได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็มีไม่มากนัก
บางเว็บไซด์บอกว่า ที่ญี่ปุ่นจะเป็นกันมาก แต่ในไทยยังพบน้อย แต่ ก็เริ่มพบมากขึ้นแล้วเหมือนกัน

มาดูรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้กันครับ (ผม copy มาจาก Internet)
โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)
นพ.วัชระ จามจุรีรักษ์

เป็นกลุ่มอาการของโรคที่ประกอบด้วย ไข้สูง, มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุผิว (Mucocutaneous involvement) และต่อมน้ำเหลืองที่คอโตเป็นโรคที่พบในเด็กโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี

โรคนี้ตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดย นายแพทย์ Tomisaku Kawasaki ที่ประเทศญี่ปุ่น และตั้งชื่อว่า Mucocutaneous Lymph Node Syndrome (MCLS) และต่อมาก็พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรคคาวาซากิ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบครั้งแรก

ระบาดวิทยา

อุบัติการของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยพบมากแถบเอเชีย โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทยก็พบมากขึ้นเรื่อยๆ
โรคนี้พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง (ประมาณ 2:1) และอายุโดยมากน้อยกว่า 4 ปี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 1-2 ปี พบบ่อยที่สุด
โรคนี้มีโอกาสเกิดในครอบครัวเดียวกัน (พี่น้อง) ได้ โดยเมื่อคนหนึ่งเป็นอีกคนจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กทั่วๆ ไปและเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจเกิดเป็นซ้ำได้ พบได้ประมาณ 3-5%

สาเหตุ

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่จากการที่มีอาการค่อนข้างเร็ว, มีไข้สูง, ผื่นตามตัว, ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง จึงคาดว่าโรคนี้น่าจะเกี่ยวกับการติดเชื้อหรือเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทานผิดปกติ (Immunologic disease)

อาการและอาการแสดงของโรค

1. ไข้: ผู้ป่วยจะมีไข้สูง และสูงเป็นพักๆ นาน 1-2 สับดาห์ บางรายนานถึง 3-4 สัปดาห์
2. ตาแดง: ตาขาวจะแดงโดยไม่มีขี้ตา เกิดหลังมีไข้ประมาณ 1-2 วันและเป็นอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์
3. มีการเปลี่ยนแปลงของริมฝีปาก: จะมีริมฝีปากแดง, แห้ง และผิวหนังที่ริมฝีปากจะแตกลอกต่อมา ลิ้นจะแดงคล้ายลูกสตอร์เบอรี่ (strawbery tongue)
4. มีการเปลี่ยนแปลงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า: โดยจะบวมแดง ไม่เจ็บ หลังจากนั้นจะมีการลอกของผิวหนังบริเวณปลายของเล็บมือและเท้า(ประมาณ 10-20 วัน หลังมีไข้) และลามไปที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายเล็บอาจหลุดได้ หลังจากนั้น 1-2 เดือน จะมีรอยขวางที่เล็บ (transverse groove; Beau''''s line) ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์โรคมาก
5. ผื่นตามตัวและแขนขา: มักเกิดหลังจากมีไข้ได้ 2-3 วัน โดยผื่นมีได้หลายแบบ ไม่คัน
6. ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอโต: พบประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย ไม่เจ็บ อาจพบข้างเดียวหรือสองข้างของลำคอก็ได้ โดยมีขนาดเกินกว่า 1.5 เซนติเมตร
7. อาการแสดงอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย: ได้แก่ ปวดตามข้อ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ, ท้องเสีย, ปอดบวม เป็นต้น

โรคนี้หายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าให้ยาแอสไพริน จะทำให้ไข้และอาการลดเร็วมากขึ้น

ปัญหาสำคัญของโรคคาวาซากิ คือ เกิดโรคแทรกซ้อนหรือลุกลามไปที่ระบบอื่นๆ ดังกล่าวแล้ว ที่สำคัญคือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) ได้ โดยพบประมาณ 20-30% ถ้าไม่ได้รับการรักษา

ความผิดปกติของหัวใจที่เกิดจากโรคนี้คือ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, ลิ้นหัวใจรั่วและเส้นเลือดแดงเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) อักเสบ แล้วเกิดเป็นเส้นแดงเลือดพองโต (aneurysm) ซึ่งเส้นแดงเลือดพองโตนี้อาจเป็นที่เส้นเลือดเดียว,ตำแหน่งเดียว หรือเป็นที่เส้นเลือด 2-3 เส้น และ หลายตำแหน่งก็ได้ โดยพบในช่วง 10-28 วันของโรค

ผลที่เกิดตามมาคือ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ดี และหัวใจวายได้ ส่วนเส้นเลือดที่โป่งพองก็อาจเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน ถ้าเป็นมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ พบประมาณ 1-2%

การวินิจฉัยโรค

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ และปัจจุบันยังไม่มีการตรวจ ตลอดจนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้เป็นเครื่องชี้เฉพาะของโรคนี้ได้ ต้องอาศัยกลุ่มอาการของโรคและการวินิจฉัยแยกโรคเป็นการให้การวิเคราะห์โรค โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย ดังนี้
1. ไข้สูง และสูงนานเกิน 5 วัน ติดต่อกัน
2. มีอาการและอาการแสดงดังต่อไปนี้
    ก. มีการบวมแดงของฝ่ามือ ฝ่าเท้า
    ข. มีผื่นตามตัว
    ค. ตาแดง 2 ข้าง โดยไม่มีขี้ตา
    ง. ริมฝีปากแห้งแดง, อุ้งปากและลิ้นแดง
    จ. ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
3. แยกจากโรคอื่นออกได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ: ในรายที่เป็นมากคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจผิดปกติได
2. ถ่ายภาพรังสีทรวงอก: บางรายเงาหัวใจอาจโตเนื่องจากมีน้ำที่ช่องเยื่อหุ้มหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
3. การทำ ultrasound ของหัวใจ (Echocardiogram): การทำ Ultrasound หัวใจหรือ Echocardiogram จะมีประโยชน์มากเพราะจะช่วยในการวินิจฉัยว่าโรคนี้ลุกลามไปที่หัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ โดยถ้ามีการลุกลามไปที่หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจ (coronary artery) ก็จะเห็นมีการโป่งพอง (aneurysm) ตลอดจนอาจเห็นว่ามีลิ่มเลือดอยู่ในเส้นเลือดส่วนที่โป่งพองได้ (รูปที่ 7) และก็ยังสามารถบอกได้ว่ามีการรั่วของลิ้นหัวใจหรือไม่อีกด้วย นอกจากนี้ยังใช้ในการติดตามความรุนแรงของโรค และติดตามผลการรักษา
4. การสวนหัวใจและฉีดสี: เพื่อดูการทำงานของหัวใจและความผิดปกติของเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ (coronary artery) ว่ามีการโป่งพองหรือตีบแค่ไหน
5. การตรวจหัวใจด้วยวิธี Myocardial Scanning: เพื่อตรวจดูว่าการไหลเวียนของเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าผิดปกติก็แสดงว่าน่าจะมีเส้นเลือดส่วนนั้นตีบหรืออุดตัน
6. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แสดงว่ามีการอักเสบ หรือการดำเนินของโรคอยู่ เช่น เกล็ดเลือดสูง, ESR หรือ CRP ที่สูงกว่าปกติ, ระดับ albumin ที่ต่ำผิดปกติ เป็นต้น

การรักษา

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียาเฉพาะใช้รักษาโรค แต่การรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลินชนิดฉีด (intravenous immunoglobulin, IVIG) สามารถลดความรุนแรงและอุบัติการโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดลงได้ เหลือเพียง 5-7% เท่านั้น

การรักษาแบ่งเป็น 2 ระยะ

1. การรักษาในช่วงเฉียบพลัน
ให้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน

2. การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง
ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน  รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน
ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ในรายที่มีเส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่มาก เช่น ใหญ่กว่า 8 มม. อาจมีก้อนเลือดอยู่ภายใน หรือสงสัยว่าจะมีลิ่มเลือดอยู่ภายใน จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยากันเลือดแข็งตัวร่วมด้วยกิน aspirin โดยให้จนกว่าจะหายหรือขนาดของเส้นเลือดโป่งพองลดลงอยู่ในขนาดที่ปลอดภัยจึงหยุดยากันเลือดแข็งตัว





เข้าชมก่อนย้าย : 613


เข้าชม : 10642


My Blog 5 อันดับล่าสุด

      เรียนรู้ไปด้วยกันที่ Museum Siam 21 / ต.ค. / 2553
      เมื่อลูกสาวผมป่วยเป็นโรค คาวาซากิ 21 / ต.ค. / 2553


About us      Admin
Designed by : Suphan Pinyopassorn
Powered by Maxsite